Lecture

บทที่1 ศัพท์เทคนิคที่สำคัญ
     Web Page คือ เอกสารที่เราเปิดดูใน Web ส่วนใหญ่สร้างจากภาษา HTML
     Web Site คือ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เก็บเว็บเพจ เมื่อเราต้องการดูข้อมูล
เว็บเพจ เราต้องใช้โปรแกรมเบราเซอร์เป็นเครื่องมือ
     Home Page คือ แต่ละเว็บไซต์ จะประกอบด้วยเว็บเพจหลายหน้า แต่ต้องมีการกำหนดไว้ว่า จะไห้หน้าใดเป็นหน้าแรก เว็บเพจ ที่เป็นหน้าแรกนี้ เรียกว่า "Home Page"
     Link คือ เป็นคุณสมบัติที่ทำไห้เว็บเพจมีความแตกต่างจากเอกสารทั่วไป และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำไห้www ประสบความสำเร็จ
     Web Browser คือ โปรแกรมที่เป็นประตูสู่wwwในปัจจุบันมีไห้เลือกหลายตัว
เช่น InternetExplorer Safari FireFox เป็นต้น
     URL คือ ตำแหน่งเฉพาะเจาะจงที่เราต้องระบุ เมื่อเราต้องการเรียกดูข้อมูล เรียกตำแหน่งนั้นว่า URL

...............................................
 บทที่ 2 กระบวนการพัฒนาเว็บไซต์
phase 1 : สำรวจปัจจัยสำคัญ
1.รู้จักตัวเอง
2.เรียนรู้ผู้ใช้
3.ศึกษาคู่แข่ง

สิ่งที่ได้รับ
1.เป้าหมายหลักของเว็บ
2.ความต้องการของผู้ใช้
3.กลยุทธ์ในการแข่งขัน

phase 2 :  พัฒนาเนื้อหา
4.สร้างกลยุทธ์การออกแบบ
5.หาข้อสรุปขอบเขตเนื้อหา

สิ่งที่ได้รับ
1.แนวทางการออกแบบเว็บ
2.ขอบเขตเนื้อหาและการใช้งาน
3.ข้อมูลที่ถูกจัดอย่างเป็นระบบ

phase 3 : พัฒนาโครงสร้างเว็บไซต์
6.จัดระบบข้อมูล
7.จัดทำโครงสร้างข้อมูล
8.พัฒนาระบบเนวิเกชัน

สิ่งที่ได้รับ
1.แนวทางการออกแบบเว็บ
2.ขอบเขตเนื้อหาและการใช้งาน
3.ข้อมูลที่ถูกจัดอย่างเป็นระบบ

phase 4 : ออกแบบและพัฒนาหน้าเว็บ
9.ออกแบบลักษณะหน้าตาเว็บ
10.พัฒนาเว็บต้นแบบและข้อกำหนดสุดท้าย

สิ่งที่ได้รับ
1.ลักษณะหน้าตาของเว็บ
2.เว็บต้นแบบที่จะใช้ในการพัฒนา
3.รูปแบบโครงสร้างของเว็บ
4.ข้อกำหนดในการพัฒนาเว็บ

phase 5 : พัฒนาและดำเนินการ
11.ลงมือพัฒนาเว็บ
12.เปิดเว็บไซต์
13.ดูแลและพัฒนาต่อเนื่อง

สิ่งที่ได้รับ
1.เว็บที่สมบูรณ์
2.เปิดตัวเว็บและทำให้เป็นที่รู้จัก
3.แนวทางการดูแลและพัฒนาต่อไป

...............................................
บทที่ 5 ออกแบบระบบเนวิเกชั่น

ความสำคัญของระบบเนวิเกชั่น
    การออกเเบบโครงสร้างข้อมูลที่ดีช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น ส่วนระบบเนวิเกชั่นเป็นส่วนเสริมในการสร้างสิ่งเเวดล้อมที่สื่อความหมายเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ท่องเว็บได้อย่างคล่องตัว   โดยไม่หลงทาง โดยทำให้ผู้ใช้สามารถรู้ได้ว่าตัวเองกำลังอยู่ที่ไหน ได้ผ่านที่ใดมาบ้างเเละควรจะไปไหนต่อ

เนวิเกชั่นที่ดี จะต้องบรรลุวัตถุประสงค์ต่อไปนี้
1.ผู้ชมกำลังอยู่ในส่วนใดของเว็บ
2.สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไร
3. สามารถกลับไปยังหน้าเดิมได้อย่างไร
4. หน้าเว็บเพจใดที่ได้เยี่ยมชมข้อมูลเเล้ว
รูปแบบของระบบเนวิเกชั่น เเบ่งออกเป็น 4รูปแบบ
1.ระบบเนวิเกชั่นเเบบลำดับขั้น
เป็นเเบบพื้นฐาน คือ มีหน้าโฮมเพจหนึ่งหน่าเเละมีลิงค์ไปยังหน้าอื่นๆ ภายในเว็บถือเป็บลำดับขั้นอย่างหนึง่เเล้ว
2.ระบบเนวิเกชั่นเเบบโกลบอล
เป็นระบบที่ช่วยเสริมข้อจำกัดของระบบเนวิเกชั่นเเบบลำดับขั้น ทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งในเเนวตั้งเเละเเนวนอนอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ระบบเนวิเกชั่นเเบบโลคอล
สำหรับเว็บที่มีความซับซ้อนมากอาจต้องใช้ระบบเเบบโลคอลหรือเเบบเฉพาะส่วน
4. ระบบเนวิเกชั่นเฉพาะที่
เป็นเเบบเฉพาะที่ตามความจำเป็นของเนื้อหาซึ่งก็คือลิงค์ของคำที่ฝั่งอยู่ในประโยค เเต่ไม่ควรใช้มากจนเกินไป เพราะผู้ใช้อาจ มองข้ามไปทำให้ไม่สนใจ

องค์ประกอบของระบบเนวิเกชั่นหลัก
      ระบบเนวิเกชั่นที่สำคัญเเละพบมากที่สุด คือเนวิเกชั่นที่อยู่หน้าเีดียวกับเนื้อหา ไม่ใช่เนวิเกชั่นที่อยู่ภายในเว็บ ซึ่งได้แก่ เนวิเกชั่นบาร์ เนวิเกชั่นระบบเฟรม pull down pop up menu image map และ searchbox

เนวิเกชั่นบาร์
เป็นพื้นฐานที่ใช้ได้หลายรูปแบบ ทั้งเเบลำดับขั้น เเบบโกบอล เเละเเบบโลคอล โดยทั่วไปเนวิเกชั่นบาร์จะประกอบด้วยกลุ่มของลิงค์ต่างๆที่อยู้รวมกันในหน้าเว็บ

วิเกชั่นระบบเฟรม
คุณสมบัติของเฟรมจะทำให้ไม่สามารถเเสดงเว็บหลายๆหน้าต่างเบราวเซอร์เดียวกัน โดยเเต่ละหน้าจะเป็นอิสระต่อกัน
  ข้อเสีย เสียพื้นที่ไปในบางส่วน
                เเสดงผลช้า
               ใช้การออกแบบที่ซับซ้อน
pull downmenu
เป็นส่วนประกอบของฟอร์มที่มีลักษณะเด่น คือ มีรายการให้เลือกมากมาย ใช้พื้นที่น้อย
เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีข้อมูลประเภทเดียวกัน
pop up menu
เป็นเมนูอีกรูปแแบหนึ่งที่มีลักษณะคล้าย pull down menu เเต่รายการย่อยของเมนูจะปรากฎ
ขึ้นเองเมื่อผู้ใช้นำเมาส์ไปวาง ข้อดี ช่วยให้หน้าเวบไม่รกจนเกินไป
image Map
การใช้รูปกราฟิกเป็นลิงค์ในเเบบ image map ได้รับความนิยมนำมาใช้กับระบบเนวิเกชั่นมากขึ้น โดยบางบริเวณสามารถลิ้งได้ด้วย ข้อเสีย คือ ไม่ควรใช้มากจนเกินไป เพราะผู้ใช้อาจไม่รู้ว่าภาพเหล่านั้นสามารถลิ้งค์ได้
search Box
การจัดเตรียมระบบสืบค้นข้อมูล ภายในเว็บเป็นระบบเนวิเกชั่นสำหรับเว็บที่มีข้อมูลปริมาณมากทำให้ผู้ใช้ค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
การออกแบบระบบเนวิเกชั่น
สร้างระบบเนวิเกชั่นหลัก
การออกแบบที่ดีควรเริ่มจากการทีโครงสร้างลำดับขั้นของข้อมูลที่เหมาะสม รายการหลักในกลุ่มข้อมูลชั้นเเรกเป็นตัวกำหนดว่าระบบเนวิเกชั่่นเเบบโกบอลจะต้องมีอะไรบ้าง รายการหลักจะถูกลิงค์ให้เข้าถึงได้ทุกหน้าในเว็บเเละเป็นต้นเเบบให้กับระบบเนวิเกชั่นเเบบโลคอลเเละเเบบเฉพาะทีต่อไปทุกลำดับขั้นข้อมูลที่สูงกว่า
เนวิเกชั่นเเบบกราฟฟิก VS ตัวอักษร
จะเลือกใช้เเบบใด้ก็ได้ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบ โดยปรกติรูปแบบกราฟิกจะดูสวยกว่าเเบบตัวอักษรอยู่เเล้ว เเต่อาจทำให้การเเสดงผลช้าลง
เนวิเกชั่นเเบบกราฟิกพร้อมคำอธิบาย
เนวิเกชั่นเเบบกราฟิกหรือไอคอนเพื่อเพิ่มความน่าสนใจของลิงค์ ควรใส่คำอธิบายควบคู่
กับกราฟฟิกด้วย
พื้นฐานของระบบเนวิเกชั่น
หลักการออกแบบเนวิเกชั่นคือการอำนวยความสะดวกตามเป้าหมายของผู้ใช้ เพื่อให้รู้ว่า
ตอนนี้กำลังอยู่ที่ไหน มีหลายสิ่งที่ทำให้รู้สถานที่ได้โดยเร็วไม่ว่าจะเป็นเเผนที่ ป้ายบอกทาง เสียง อากาศ
เพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนที่
สามารถเข้าถึงได้ในทุกๆหน้า ควรจะมีลิงค์อย่างน้อยที่สุด 1 ลิงค์เพื่อกลับไปยังหน้า Home  เเละป้องกันปัญหาการเกิดหน้าทางตันที่ไม่มีลิงค์ไปสู่ส่วนใดๆ ในเว็บ
ระบบเนวิเกชั่นที่มีประสิทธิภาพ ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เข้าใจง่าย
2. มีความสม่ำเสมอ
3. มีการตอบสนองต่อผู้ใช้
4. มีความพร้อมเเละเหมาะสมต่อการใช้งาน
5. นำเสนอหลายทางเลือก
6. มีขั้นตอนสั้นเเละประหยัดเวลา
7. มีรูปแบบที่สื่อความหมาย
8. มีคำอธิบายที่ชัดเจนเเละเข้าใจได้ง่าย
9. เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของเว็บ
10. สนับสนุนเป้าหมายเเละพฤติกรรมของผู้ใช้
...............................................